การเขียนโครงการ
หลักการสำคัญในการเขียนโครงการ
การปฏิบัติงานตามโครงงานอาชีพของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุตามจุดหมานของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายการจัดทำโครงการ จึงได้กำหนดหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับโครงการไว้ ดังนี้
1. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มมีเสรีภาพในการตัดสินใจ เลือกทำโครงงานอาชีพใดก็ได้ ตามความถนัด ความสนใจ และคามพร้อมของผู้เรียน
2. ผู้เรียนในห้องเรียนเดียวกัน ควรเลือกโครงการอาชีพแตกต่างกัน ได้ตามความถนัด ความพร้อม และความสนใจ ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ชิ้นงาน หรือรายได้จากการปฏิบัติงาน
3. ให้คำนึงถึงทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งทรัพยากรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตชิ้นงาน และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น ตลอดจนภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ และพัฒนาเทคโนโลยีในท้องถิ่น
4. ผู้เรียนสามารถนำทักษะการทำงาน พื้นฐานหลายประเภท รวมไว้ในโครงการเดียวได้
5. ในแต่ละโครงการ อาจกำหนดคาบเวลาแตกต่างกันได้ ตามความยากง่ายของลักษณะงาน
6. ครูอาจารย์ ผู้สอน หรือที่ปรึกษา อาจจัดสื่อการสอนในลักษณะของใบงาน หรือใบความรู้ หรือข้อมูลทางวิชาการ เพื่อช่วยให้นักเรียน สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
7. ในการประเมินโครงการ ให้ครู อาจารย์ผู้สอน หรือที่ปรึกษาเป็นผู้ประเมิน โดยคำนึงถึงความรู้ความเข้าใจ กระบวนการทำงาน เจตติในการปฏิบัติงาน และการนำชิ้นงานไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และต้องประเมินผลการเรียนเป็นรายภาคเรียน สำหรับผู้เรียนที่เลือกหลายโครงการใน 1 ภาคเรียน ให้ประเมินผลโดยให้คะแนนในแต่ละโครงการก่อน แล้วนำมารวมกัน เพื่อตัดสินให้ระดับคะแนน โดยคำนึงถึงคาเวลาในแต่ละโครงการ โดยจัดสัดส่วนน้ำหนักโครงการแตกต่างกันตามคาบเวลา
ส่วนประกอบและวิธีการเขียนโครงการ
ส่วนประกอบและวิธีเขียนโครงการฝึกอาชีพ มีรายะเอียด ดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
ควรตั้งชื่อโครงการอาชีพให้สื่อความหมายได้ชัดเจน ครอบคลุมความหมายของกิจกรรมอาชีพที่ทำให้ชัดเจนว่าทำอะไร ต้องเป็นชื่อที่เหมาะสม ชัดเจน ดึงดูดความสนใจ และเฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไร ไม่ควรตั้งชื่อโครงการที่มีความหมายกว้างเกินไปตัวอย่างเช่น โครงการปลูกมันสัมปะหลัง โครงงานทำสิ่งประดิษฐ์
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
เป็นชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน ในกรณีงานกลุ่มต้องระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนให้ชัดเจน พิจารณาความเหมาะสมในด้านความสามารถ โอกาสในการทำงาน กำลังทุนทรัพย์สินของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบว่า โครงงานอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด หรือโครงการนี้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร เมื่อมีปัญหาจะได้ติดต่อประสานงานได้อย่างง่าย
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ
4. หลักการและเหตุผลหรือความสำคัญของโครงการ
ควรกล่าวถึงสภาพชุมชนและความต้องการของตลาดที่เกี่ยวข้องกับอาชีพตามที่ได้ ศึกษามา และอธิบายว่าโครงงานนี้จะสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างไร แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นหรือความสำคัญ ซึ่งผู้เสนอโครงงานจะต้องระบุถึงเหตุผลและข้อมูล หรือทฤษฎีต่าง ๆ มาสนับสนุนโครงการให้ปรากฏชัดเจนอย่างสมเหตุสมผล การเขียนหลักการและเหตุผลในส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
1. ความเป็นมาของโครงการย่อ ๆ
2. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนั้น ๆ
3. วิธีการดำเนินโครงการย่อ ๆ
5. วัตถุประสงค์
จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า โครงงานอาชีพนี้ ผู้เรียนจะทำอะไรโดยเขียนให้เห็นว่ากิจกรรมหรือพฤติกรรมที่จะดำเนินการมี อะไรบ้าง หากมีวัตถุประสงค์หลายประการก็ควรเขียนเป็นข้อ ๆ ตามลำดับความสำคัญ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ ไม่เปิดโอกาสให้ตีความได้หลายอย่างอันจะทำให้ความหมายบิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริง และสามารถประเมินผลและวัดได้
6. เป้าหมาย
เป้าหมาย (Targets) หมายถึงการแสดงผลผลิตขั้นสุดท้ายในแง่ปริมาณ จำนวนหรือการวัดความสำเร็จในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ กำหนดเป้าหมายของผลผลิตในช่วงเวลาให้ชัดเจนคือ อะไร มีปริมาณเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไร เป้าหมายจึงคล้ายกับวัตถุประสงค์แต่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่า มีการระบุสิ่งที่ต้องการกระทำหรือการไปถึงชัดเจนกว่าและระบุเวลาที่ต้องการบรรลุ ว่าจะแล้วเสร็จในวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีใด โดยใคร และอย่างไร นอกจากนั้นอาจมีการกำหนดเป้าหมายเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วยก็ได้
7. ระยะเวลาดำเนินการ
การระบุระยะเวลาและสถานที่หรือพื้นที่เป้าหมายที่จะจัดกิจกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงงานและในกรณีที่เป็นโครงงานระยะยาวมีหลายขั้นตอน ก็จะต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละขั้นตอนนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเพื่ออนุมัติโครงงาน ตัวอย่างเช่น
ระยะเวลา : 1 เดือน วันที่ 1 – 30 เมษายน 2558
สถานที่ดำเนินงาน : โรงเรียนสารคามพิทยาคม
8. งบประมาณ
จัดทำรายละเอียดรายจ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงงาน เป็นการระบุถึงจำนวนเงิน จำนวนบุคคล จำนวนวัสดุ-ครุภัณฑ์ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน การจัดทำงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงานโครงการ ผู้วางแผนโครงการควรต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 4 ประการในการจัดทำโครงการ โดยจะต้องจัดเตรียมไว้อย่างเพียงพอและจะต้องใช้อย่างประหยัด ดังนี้
1. ความประหยัด (Economy)
2. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
3. ความมีประสิทธิผล (Effectiveness)
4. ความยุติธรรม (Equity)
9. ขั้นตอนวิธีดำเนินงาน
เขียนเป็นรายละเอียดขั้นตอนของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงงานโดยเขียนเป็นแผนปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ กิจกรรม ระยะเวลา สถานศึกษา ทรัพยากร/ปัจจัยเป็นต้น รายละเอียดดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ปรึกษาหรือผู้ดำเนินงานติดตามกำกับงานได้ อย่างมีระบบแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
10. การติดตามและการประเมินผล
เป็นวิธีการหรือเทคนิคในการดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ต้องบอกให้ชัดเจนว่าก่อนเริ่มทำโครงงาน ระหว่างทำโครงงานและหลังการทำโครงงาน จะมีการติดตามและประเมินผลอย่างไร เป็นการระบุว่ามีการติดตาม การควบคุม การกำกับ และการประเมินผลโครงงานอย่างไร จะประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานโครงงานได้อย่างไรใครเป็นผู้รับผิดชอบ โดยระบุวิธีหรือเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินด้วย ทั้งนี้หัวข้อของการประเมินจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามโครงงานด้วย
ดังนั้น เพื่อให้การติดตามและประเมินผลโครงการสอดคล้องระหว่างการวางแผนกับการปฏิบัติงาน ควรพิจารณาดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
1. ประเมินผลก่อนการทำโครงการ หรือก่อนการปฏิบัติงาน
2. ประเมินผลระหว่างที่มีการทำโครงงาน
3. ประเมินผลภายหลังการทำโครงงาน
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ให้ระบุผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงาน เป็นผลที่ได้รับโดยตรงและผลพลอยได้หรือผลกระทบจากโครงงานเป็นผลในด้านดีที่ คาดว่าจะได้รับจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมาย แสดงถึงผลประโยชน์ที่ผู้ดำเนินโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับหลังโครงการสิ้นสุดลง ซึ่งหมายถึงผลกระทบในทางที่ดี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้จะระบุไว้ชัดเจนว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบในลักษณะอย่างไร ทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ
12. ปัญหาและอุปสรรค
การดำเนินงานตามโครงการนี้ จะมีปัญหาและอุปสรรคใดบ้าง ทั้งในด้านตัวบุคคลที่ร่วมงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ ภัยธรรมชาติ ตลาดจำหน่ายและอื่น ๆ ที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น พร้อมชี้แจงสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นด้วย รวมทั้งแนวทางแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคที่ไม่เป็นไปตามแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ระยะเวลา วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น