หน่วยที่ 5 การประเมินผลงานและการนำเสนอผลงาน

 การประเมินผลงาน

      1.  ผู้เรียนประเมินตนเอง    จะแสดงออกให้เห็นว่า ผู้เรียนเจ้าของโครงการ ซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มทำงาน มีความพึงพอใจต้อขั้นตอนของกิจกรรมแต่ละขั้นที่ได้กำหนด หรือร่วมกันกำหนดขึ้นเองเพียงใด มีหัวข้อกิจกรรมใดที่ยังขาดตกบกพร่อง จะต้องเพิ่มเติมในส่วนใดบ้าง

       2.  เพื่อนของผู้เรียนเป็นผู้ประเมิน    อาจให้ข้อคิดเห็นสะท้อนภาพเพิ่มเติม เช่น ในระดับชั้น ปวส. เพื่อนอาจให้ความเห็นไปในเรื่องของการเรียน การปฏิบัติเทคโนโลยี การออกแบบ ความสามัคคีให้ความร่วมมือ ถึงการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งชื่อโครงการกับจุดประสงค์ของโครงการ และตามความเข้าใจของผู้ประเมิน เพื่อการพิจารณาการจัดรูปเล่มเพื่อการนำเสนอโครงการ ฯลฯ

       3.  ผู้สอนที่ปรึกษาเป็นผู้ประเมิน      อาจให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้ในเรื่องวิธีการอื่น ๆ ที่ใช้ในการศึกษาหาคำตอบ ความสัมพันธ์ของวิชาตามหัวเรื่องที่ปรึกษากับวิชาอื่น ข้อค้นพบที่ผู้เรียนได้จากโครงการ การนำคำตอบของการศึกษาที่ได้ไปใช้ประโยชน์ การนำข้อค้นพบที่ต่างไปจากเป้าหมายของการศึกษาไปใช้ประโยชน์หรือขยายผลการศึกษาเป็นโครงการใหม่ ฯลฯ

      4.  ผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน    ซึ่งผู้ปกครองจะได้รับทราบถึงความสามารถ ความถนัดทางการศึกษาของลูกหรือผู้เรียนซึ่งอยู่ในความปกครอง ความรู้สึก ความต้องการของผู้เรียนผู้ทำโครงการทำให้สามารถปรับตัวปรับใจ เพื่อการสนับสนุนทั้งด้านการเงิน กำลังใจ ให้โอกาส ให้เวลาร่วมกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน ชี้แนะอุปสรรคปัญหาเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ ข้อเสนอแนะสำหรับการทำโครงการครั้งต่อไป ฯลฯ

การนำเสนอผลงาน

      หลังจากผู้เรียนได้ดำเนินการตามโครงการวิชาชีพที่ได้เลือกตามความถนัดแล้ว ผู้เรียนจะต้องเขียนเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการต่อผู้สอนที่ปรึกษาและคณะกรรมการ เพื่อที่คณะกรรมการจะได้นำผลการดำเนินงานนั้นมาใช้เป็นแนวทางในวางแผนให้มีประสิทธิภาพต่อไป การนำเสนอผลงานสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การรายงานเป็นเอกสาร การรายงานด้วยคำพูดต่อหน้า คณะกรรมการการจัดนิทรรศการ การฉายภาพวีดิทัศน์ ฯลฯ เป็นต้น

การรายงานเป็นเอกสาร ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

 ส่วนนำ

                 ในส่วนนี้จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ในตอนต้นของรายงาน ซึ่งนับตั้งแต่ปกนอก ปกใน กิตติกรรมประกาศ หน้าอนุมัติ บทคัดย่อ และสารบัญ

            ส่วนข้อความ 

         ส่วนเนื้อความ ในส่วนนี้ประกอบด้วยเนื้อหาเป็นบท ๆ (มี 5 บท) แต่ละบทจะมีการเขียนหรือกล่าวถึง ดังนี้

      2.บทที่ 1 บทนำ

      2.บทที่ 2 เนื้อเรื่องของบทนี้จะเป็นทฤษฎีที่สำคัญหรือสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยหรือรายงาน (Project) นั้น ๆ หรือเทคนิคการประยุกต์ใช้งานของทฤษฎี

      2.บทที่ 3 จะเป็นเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับการออกแบบ และสร้างรายงานนั้น ๆ

      2.บทที่ จะเป็นเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับผลของการทดลอง หรือทดสอบ

    2.บทที่ 5 สำหรับเนื้อเรื่องในบทนี้จะกล่าวถึง สรุปผลการทดลองหรือทดสอบข้อเสนอแนะในการทำรายงานครั้งต่อไปเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น หรือเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพให้มากขึ้น ตลอดจนอุปสรรคในการทำรายงาน

ส่วนอ้างอิง

         3.เอกสารอ้างอิง (References)

         3.บรรณานุกรม (Bibliography)

 ส่วนผนวก 

        4.เป็นการแนบโครงการ รูปแบบ และเอกสารที่สำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าแรก

  โครงการวิชาชีพ (  PROJECT )    หมายถึง แผนงานที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ หระกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน...